วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ประวัติการปกครองของไทย



ลักษณะการปกครองของไทยแต่เดิม

       การปกครองของไทยแต่เดิมก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่
เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความ คุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้อง(Master and slave)  อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับ ยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและ ความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่มและหมู่ชน
       ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋"  "ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา นุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษา อังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการ ปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการ ปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ


          1. ฮินสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย


2. โม่วสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงกลาโหม
3. ม่านสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการคลัง
4. ยันสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ
5. หว่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงพาณิชย์
6. ฝัดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงยุติธรรม
7. ฮิดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ
8. จุ้งสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงสำมะโนครัว
9. ฉื่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงวังหรือราชประเพณี


       การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้า กรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล แต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่เจ้าหัวเมืองเอกเจ้าหัวเมืองโท เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็นแขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวง เป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้าจากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าว นี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก



การปกครองสมัยสุโขทัย

       อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกตรองในสมัยสุโขทัย

      ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน
ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปก ครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการ ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประ เทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลาย ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็น เมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของ ไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่า ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดิน สมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้ เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูก ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
        การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้
พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่ม เย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะ ใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้ วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
       การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูก ฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนด ความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่ง ที่หวังได้โดยยาก

แผนภูมิแสดงการปกครองหัวเมืองสุโขทัย

        กำแพงชั้นที่ 1 เมืองลูกหลวง (หัวเมืองชั้นใน)
        กำแพงชั้นที่ 2 เมืองพระสยามมหานคร (หัวเมืองชั้นนอก )  
        กำแพงชั้นที่ 3 เมืองประเทศราช (เมืองออก)



การปกครองสมัยอยุธยา

       กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
มหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎ
กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศ
อิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
       ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
      
       ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การ
ปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การ
ปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้า
ตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือ
กำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"

       ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบ
หนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย
ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมือง
ต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้น
ถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนาราย์แบ่งภาคมา
เลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนาย ปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของ ประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือน

       ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริยเ์ป็นผู้
อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานี
และเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้น อยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการ บริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการ บริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมาย ให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรง แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่ง จากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้ อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ
 เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึง แนวโน้มในทางที่ประชาชนต้องเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองในลักษณะนี้ตลอดไปการ
ที่ปล่อยให้เกิดช่องว่างเช่นนี้ ทำให้บรรดาข้าราชการซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครองต้องรับภาระเป็นผู้ปกป้อง
ผลประโยชน์ของประชาชนตลอดไป ในลักษณะเช่นนี้สภาพความนึกคิดระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้
ปกครองมักมองไปคนละแง่คนละมุมความต้องการของประชาชน จึงมักเป็นสิ่งที่รัฐหยิบยื่นให้เสียเป็น
ส่วนใหญ่ แต่ความต้องการจะสนองเจตนารมณ์ของประชาชน หรือไม่ก็เป็นความยากลำบากอยู่ไม่น้อย
ที่จะทราบได้ ต่อจากสมัยกรุงศรีอยุธยาก็จะถึงสมัยกรุงธนบุรีในสมัยนี้การจัดระเบียบการปกครองทั้ง
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคก็คงถือหลักที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะนับตั้งแต่พระเจ้าตากสินทรง
เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว บ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบมีหัวเมืองบางแห่งแข็งเมืองคิดขบถจึงต้องเสีย
เวลาไปปราบปรามหลายครั้ง มิหนำซ้ำพม่ายกกองทัพมาตีเมืองไทยอยู่เสมอก็ต้องเสียเวลายกกองทัพ
ไปทำศึกกับพม่าอยู่เสมอพระองค์ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำนุบำรุงประเทศและปรับปรุงการปกครองเลย
      
      รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยก
การบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทาง ด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญาสิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้ ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวนั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัดหัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง"ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานีนอกจากนั้นปรากฎตามกฎมนเทียรบาลและทำเนียบศักดินาหัวเมืองได้เลิกเมืองลูกหลวง 4 ด้านของราชธานีตามที่มีมาแต่ก่อน คงให้มีฐานะเป็น เพียงเมืองชั้นจัตวาอาณาเขตวงราชธานี ซึ่งได้ขยายออกไปภายหลังการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ ส่วนระเบียบการปกครองเมืองภายนอก วงราชธานียังคงจัดเป็นเมืองพระยามหานครตามเดิม แต่แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรีเมืองชนิดนี้ต่อมาเรียกว่ หัวเมืองชั้นนอกเพราะอยู่วงนอกราชธานีและอยู่ห่างไกลหรือเพราะอยู่หน้าด่านชายแดนแต่ละเมืองก็มีเมืองอยู่ในอาณาเขตทำนองเดียวกับวงราชธานีและบรรดาเมืองชั้นนอก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดอย่างเป็นผู้ต่างพระองค์ทุกอย่างและมีกรมการพนักงานปกครองทุกแผนกอย่างเช่นในราชธานีหัวเมืองต่อนั้นออกไป ซึ่งเมืองชนต่างชาติต่างภาษาอยู่ชายแดนต่อประเทศอื่นให้เป็นเมืองประเทศราชมีเจ้านายของชนชาตินั้นปกครองตามจารีตประเพณีของชนชาตินั้นๆ และเมืองนั้นต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด 3 ปีครั้งหนึ่ง

        ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้น
ใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล
แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การ
แบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัย
ปัจจุบันมาก นักกฏหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่
แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

       การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่า
ประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้น
เช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็น ชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครอง ระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและ คดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนาในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า ฉะนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฎในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือการปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้นเมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์

       ข้อเสีย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบเทวสิทธ์ที่สะท้อนเป็นมรดกต่อการปกครองมาจน
กระทั่งปัจจุบันคือได้สร้างสภาพจิตใจคนไทยให้มีความนิยมนับถือในตัวบุคคลมากกว่าหลักการเกินไป
ซึ่งเป็นสภาพจิตใจที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดนิสัยราษฎรเลือกผู้ปกครองของตนโดย
อารมณ์ในด้านความชอบพอรักใคร่ยกย่องนับถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าในเรื่องหลักเกณฑ์และอุดมการณ์

     
       ข้อน่าสังเกต อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการปกครองระบบเทวสิทธิ์ที่มีต่อการปกครองปัจจุบัน
ระบบโครงสร้างของประชาคมไทยประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ ๆ เพียง 2 ชั้น คือชนชั้นปกครองและชน
ชั้นถูกปกครอง ชนชั้นปกครองนั้นได้แก่ พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นองค์ประมุขของชาติกับบรรดา
ข้าราชการทั้งหลาย ส่วนชนชั้นถูกปกครองคือ บรรดาเกษตรกรพ่อค้าและประชาชนทั่วไปอย่างไรก็ดี
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นไม่ใคร่ มีทั้งนี้เพราะชนชั้นถูกปกครองยอมรับสถานะตนอันเป็นผลทำให้
ประชาชนคอยพึ่งบริการจากทางราชการอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะขาดกลุ่มผลประโยชน์ที่จะคอย
รักษาผลประโยชน์แทนประชาชน จึงเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นถูกปกครองทั้งยัง
เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึง แนวโน้มในทางที่ประชาชนต้องเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองในลักษณะนี้ตลอดไปการ
ที่ปล่อยให้เกิดช่องว่างเช่นนี้ ทำให้บรรดาข้าราชการซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครองต้องรับภาระเป็นผู้ปกป้อง
ผลประโยชน์ของประชาชนตลอดไป ในลักษณะเช่นนี้สภาพความนึกคิดระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้
ปกครองมักมองไปคนละแง่คนละมุมความต้องการของประชาชน จึงมักเป็นสิ่งที่รัฐหยิบยื่นให้เสียเป็น
ส่วนใหญ่ แต่ความต้องการจะสนองเจตนารมณ์ของประชาชน หรือไม่ก็เป็นความยากลำบากอยู่ไม่น้อย
ที่จะทราบได้ ต่อจากสมัยกรุงศรีอยุธยาก็จะถึงสมัยกรุงธนบุรีในสมัยนี้การจัดระเบียบการปกครองทั้ง
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคก็คงถือหลักที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะนับตั้งแต่พระเจ้าตากสินทรง
เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว บ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบมีหัวเมืองบางแห่งแข็งเมืองคิดขบถจึงต้องเสีย
เวลาไปปราบปรามหลายครั้ง มิหนำซ้ำพม่ายกกองทัพมาตีเมืองไทยอยู่เสมอก็ต้องเสียเวลายกกองทัพ
ไปทำศึกกับพม่าอยู่เสมอพระองค์ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำนุบำรุงประเทศและปรับปรุงการปกครองเลย

       


การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ 


ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้        1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา       2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน        3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน        4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส        5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน

การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5        1. การเลิกทาสและไพร่        2. การปฏิรูปทางการศึกษา        3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร        4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน        5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง        6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ        7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม        8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน        9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ 


การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 

       1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา        2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม 

และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 

       1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง        2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้        3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ        4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง        5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์        6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่        7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง        8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา        9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร      10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ      11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา      12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ

การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค        - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง        - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง 

การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง       - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ       - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ


การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6        1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา        3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย        4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล        5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด 

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7        การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน



 หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง        1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ       2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ        3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ     - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร     - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี     - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล 

หลักการปกครองของคณะราษฎร       1. รักษาความเป็นเอกราช       2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ       3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี       4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน       5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ       6. ให้ประชาชนมีการศึกษา 


การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก       1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง       2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง       3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง       4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น




  การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



การปกครองสมัยธนบุรี


มัยการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5  จนกระทั่งถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (วันที่ 24 มิถุนายน  พ.ศ. 2475)  



1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา  เพื่อให้ขุนนาง  ข้าราชการ  ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่  ทำให้ขุนนาง  ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น  รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ
      1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน  การออกกฎหมายต่างๆ
      2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง  ใน พ.ศ.2430  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา  ยุโรป  และญี่ปุ่น  ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง  จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่  6  กรม  เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว  6  กรม  เป็น 12 กรม  คือ
      1)กรมมหาดไทย   2)กรมพระกลาโหม   3)กรทท่า   4)กรมวัง   5)กรมเมือง   6)กรมนา   7)กรมพระคลัง   8)กรมยุติธรรม      
      9)กรมยุทธนาธิการ   10)กรมธรรมการ   11)กรมโยธาธิการ   12)กรมมุรธาธิการ
             ใน พ.ศ.2435  กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง  และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์  และใน      พ.ศ.2437  ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค  มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล  ซึ่งได้ระบุไว้ใน  ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113  โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน  ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น  เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง  เช่น  การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน  รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ  ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล   สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม  จังหวัดสมุครสาคร  ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448