วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งประธานธิบดี สหรัฐอเมริกา


ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐอเมริก

     ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2

อบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2


โอบาม่า จากพรรรคพรรคเดโมแครต



มิทท์ รอมนีย์ จากพรรครีพับลิกัน


       เมื่อวันที่ 7 พ.ย. บีบีซีรายงานบรรยากาศการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่า ในช่วงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้ามืดของประเทศไทย คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งตามมลรัฐต่างๆ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนับคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่นับจากคณะผู้เลือกตั้ง เรียกว่า อิเลกทอรัล คอลเลจ (electoral college) ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ดังนั้นผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่กำคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนี้ถึง 270 เสียง จะถือเป็นผู้ชนะ
เวลา 11.16 น. ตามเวลาไทย  NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
เวลา 11.15 น. ตามเวลาไทย ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน 
เวลา 11.00 น. ตามเวลาไทย โอบามามีคะแนนนำรอมนีย์ห่างออกไปที่ 244 ต่อ 178 เสียง ซึ่งหากได้คะแนนที่รัฐฟลอริดา จะเหมือนหลักประกันเข้าสู่เส้นชัย
เวลา 10.35 น. ตามเวลาไท โอบามายังนำด้วยคะแนน 172 ต่อ 163 เสียง ผู้สนับสนุนรอมนีย์เริ่มเครียด หลังโอบามาได้รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และวิสคอนซิน ส่วนที่ฟลอริดา คะแนนสูสีมาก หลังนับไป 90% โอบามามี 49.9 รอมนีย์ ได้ 49.3
เวลา 10.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาแซงไปนำด้วยคะแนน 157 ต่อ 153 เสียง
เวลา 09.00 น. รอมนีย์แซงโอบามา ด้วยคะแนน 153 ต่อ 123 เสียง โดยทั้งสองฝ่ายต่างคว้าคะแนนในฐานที่มั่นของพรรคในสนามเลือกตั้งตามที่คาด การณ์ไว้ และต้องรอลุ้นคะแนนในรัฐที่คะแนนสูสี พร้อมจะพลิกได้ทุกเมื่อ
ต่อมาเวลา 08.30 น. ตามเวลาไทย รอมนีย์มีคะแนนไล่ตามมาติดๆ โอบามานำอยู่เพียง 77 ต่อ 76 เสียง
เข้าสู่ชั่วโมงต่อมา หรือ 08.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาไล่แซงไปอยู่ที่ 57 ต่อ 40 เสียง
ช่วงชั่วโมงแรก หรือตรง กับ 07.00 น. ตามเวลาไทย มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน คว้าคะแนนนำก่อน 33 เสียง รวมถึงคะแนนที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้ 3 เสียง
ด้านซีเอ็นเอ็นรายงานผลเอ็กซิตโพล ในรัฐนอร์ท แคโรไลนา รอมนีย์และโอบามาต่างมีคะแนนเท่าๆ กันที่ร้อยละ 49 ส่วนเอ็กซิตโพลที่รัฐโอไฮโอ รัฐที่มักเป็นคะแนนหลักในการตัดสินผู้ชนะ โอบามานำรอมนีย์ร้อยละ 51 ต่อ 48
ที่มา มติชนออนไลน์
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2012 l ศึกชิงประธานาธิบดีสหรัฐ l โอบามา vs รอมนีย์ โอบามา l มิตต์ รอมนีย์ l การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 54


      คะแนนรวม
Projection: Obama wins Oregon (7 Electoral Votes)



เทียบนโยบายเศรษฐกิจ'โอบามา' VS'รอมนีย์'







เทียบนโยบายเศรษฐกิจ'โอบามา' VS'รอมนีย์'

        เศรษฐกิจสหรัฐ เป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในครั้งนี้ โดยทั้งประธานาธิบดีบารัก โอบามา และนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ต่างก็พยายามโน้มน้าวชาวสหรัฐ ให้เชื่อว่าเขามีแผนในการทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างรวดเร็วและการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น
สหรัฐประสบความยากลำบากในการทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 2 % ต่อปีหลังจากผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2550-2552 ส่วนอัตราการว่างงานในสหรัฐก็อยู่ที่ระดับสูงถึง 7.9 % ในเดือนต.ค. โดยขณะนี้ มีชาวสหรัฐราว 23 ล้านคนที่ว่างงานหรือทำงานพาร์ทไทม์ ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนี้ต้องการทำงานเต็มเวลา
ต่อไปนี้เป็นแผนการสำคัญทางเศรษฐกิจของปธน.โอบามาและนายรอมนีย์

การจ้างงาน
       ปธน.โอบามา ระบุว่า แผนการจ้างงานของเขาจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ภาคการผลิตของสหรัฐ, ช่วยให้ธุรกิจขนาดย่อมขยายตัว, ช่วยปรับปรุงคุณภาพของการศึกษา และช่วยให้สหรัฐลดการพึ่งพาน้ำมันต่างชาติ
ปธน.โอบามาคาดว่า การจ้างงานในภาคการผลิตอาจเพิ่มขึ้น 1 ล้านตำแหน่งภายในปี 2559 และการจ้างงานในภาคก๊าซธรรมชาติอาจเพิ่มขึ้นกว่า 600,000 ตำแหน่ง นอกจากนี้ จะมีการจ้างงานครูสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีก 100,000 ตำแหน่งด้วย
แผนของปธน.โอบามารวมถึงการจ้างคนงานใหม่เพื่อซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยนถนนเก่า, สะพานเก่า, ท่าอากาศยานเก่า และโรงเรียนเก่า โดยเงินที่ใช้ในการดำเนิน โครงการสาธารณูปโภคเหล่านี้จะมาจากเงินครึ่งหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐประหยัดงบประมาณจากการยุติการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน
ด้านนายรอมนีย์ ให้สัญญาว่าการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 12 ล้านตำแหน่งในสมัยแรกที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หรือราว 250,000 ตำแหน่งต่อเดือน แต่นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะทำให้การจ้างงานเติบโตขึ้นในอัตราดังกล่าวอยู่แล้วไม่ว่าใครจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
แผนของนายรอมนีย์มุ่งความสนใจไปที่การปฏิรูปภาษี, การผลักดันให้สหรัฐมีความเป็นอิสระด้านพลังงาน, การปรับลดกฎระเบียบ และการส่งเสริมการค้า โดยเฉพาะการปรับลดกำแพงกีดกันการค้ากับจีน
นายรอมนีย์กล่าวว่า ปธน.โอบามาไม่ได้ดำเนินการอย่างแข็งกร้าวมากพอ ในการคัดค้านพฤติกรรมการค้าอย่างไม่เป็นธรรมของจีน และรอมนีย์กล่าวว่า เขาจะใช้ทั้งการข่มขู่ว่าสหรัฐจะคว่ำบาตรจีน และการร่วมมือกับประเทศพันธมิตรในการบีบบังคับจีนให้ทำตามกฎเกณฑ์การค้าโลก

ภาคที่อยู่อาศัย
        ถึงแม้ว่าวิกฤติภาคที่อยู่อาศัยถือเป็นจุดศูนย์กลางของปัญหาเศรษฐกิจ แต่ทั้งปธน.โอบามาและนายรอมนีย์ ไม่ได้ประกาศแผนการอย่างละเอียดในการแก้ไขปัญหานี้
ปธน.โอบามาได้ส่งเสริมความพยายามในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีฐานะยากลำบากในการกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) และช่วยเหลือลูกหนี้ดังกล่าว ให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี แผนริเริ่มของเขาไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่คาด
ปธน.โอบามามีเรื่องขัดแย้งกับนายเอ็ดเวิร์ด เดอมาร์โก ผู้ควบคุมกฎระเบียบอิสระของสมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลาง (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (เฟรดดี แมค) โดยปธน.โอบามา พยายามโน้มน้าวนายเดอมาร์โกให้อนุญาตให้แฟนนี เมกับเฟรดดี แมคปรับลดเงินต้นสำหรับลูกหนี้ที่มียอดหนี้ สูงกว่ามูลค่าบ้านของตนเองในปัจจุบัน แต่ไม่มีแนวโน้มว่าความขัดแย้งในเรื่องนี้จะได้รับการคลี่คลายอย่างรวดเร็วหลังการเลือกตั้ง
ด้านนายรอมนีย์ กล่าวระหว่างหาเสียงว่า ตลาดที่อยู่อาศัยจำเป็นจะต้องลงไปแตะจุดต่ำสุดด้วยตนเอง โดยที่รัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซง และเขาแทบไม่ได้ ระบุว่าเขาจะใช้วิธีการใดในการจัดการกับปัญหาเรื่องการยึดบ้านของลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้จำนอง
ทั้งสมาชิกพรรคเดโมแครตและสมาชิกพรรครีพับลิกัน ต่างแสดงความเห็นตรงกันว่า รัฐบาล ควรจะลดการแทรกแซงในตลาดจำนอง แต่ผู้สมัครทั้งสองรายไม่ได้ประกาศโครงร่างแผนการในการทำเช่นนั้น

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
       เป็นที่คาดกันว่าปธน.โอบามาจะเสนอให้นายเบน เบอร์นันเก้ ดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่อเป็นสมัยที่ 3 ถ้าหากนายเบอร์นันเก้ ต้องการเช่นนั้น แต่นักวิเคราะห์ คาดว่า นายเบอร์นันเก้ต้องการจะก้าวลงจากตำแหน่งหลังจากทำงานหนักมาเป็นเวลานาน 8 ปี โดยวาระการดำรงตำแหน่งสมัยปัจจุบัน ของนายเบอร์นันเก้ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ม.ค. 2557
นางเจเน็ต เยลเลน รองประธานคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด เป็นตัวเก็งที่จะได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดต่อจากนายเบอร์นันเก้ และนางเยลเลน มีแนวโน้มที่จะใช้จุดยืนแบบสายพิราบเหมือนนายเบอร์นันเก้ โดยจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษต่อไป จนกว่าตลาดแรงงานจะปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ด้านนายรอมนีย์ กล่าวอย่างชัดเจนว่า เขาจะไม่แต่งตั้งนายเบอร์นันเก้ ให้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่ 3 ส่วนนักวิเคราะห์คาดว่า ใครก็ตามที่นายรอมนีย์ เลือกให้มาดำรงตำแหน่งแทนนายเบอร์นันเก้จะมีแนวคิดแบบสายเหยี่ยวมากกว่านายเบอร์นันเก้ โดยบุคคลคนนั้น จะต้องพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อ
ตัวเก็งที่นายรอมนีย์ อาจเลือกให้มาดำรงตำแหน่งประธานเฟด รวมถึงนายเกลน ฮับบาร์ด, นายเกร็ก แมนคิว และนายจอห์น เทย์เลอร์ ซึ่งทั้งสามคนนี้ เป็นที่ปรึกษาของนายรอมนีย์ โดยนายฮับบาร์ดและนายแมนคิวมีแนวคิดแบบสายเหยี่ยวมากกว่านายเบอร์นันเก้เล็กน้อย และทั้งสองไม่มีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง แต่นายเทย์เลอร์เคยวิจารณ์นโยบายการเงินของนายเบอร์นันเก้ว่าอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากเกินไป

นโยบายการคลัง
       ปธน.โอบามา เสนอที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลลงกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยใช้วิธีปล่อยให้มาตรการปรับลดภาษีสำหรับกลุ่มคนรวยหมดอายุลง โดยมาตรการดังกล่าว เป็นมาตรการที่เริ่มต้นใช้ในยุคของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และปธน.โอบามาจะใช้วิธีขจัดช่องโหว่ ทางงบประมาณด้วย นอกจากนี้ จะมีการนำเงินครึ่งหนึ่งที่ทางรัฐบาลประหยัดงบได้จากการยุติการทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานมาใช้ในการลดยอดขาดดุลงบประมาณลงด้วยเช่นกัน
ด้านนายรอมนีย์ ต้องการลดอัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้าลง 20 % และขยายฐานภาษีออกไปโดยใช้วิธีปิดช่องโหว่ทางกฎหมาย โดยเขาจะต่ออายุมาตรการปรับลดภาษีทั้งหมดที่ประกาศใช้ในยุคของปธน.บุชออกไป และเขากล่าวว่าการต่ออายุมาตรการเหล่านี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับรายได้ของสหรัฐ แต่ปธน.โอบามากล่าวหาว่า ตัวเลขที่นายรอมนีย์ระบุมานั้นไม่สอดคล้องกัน
นายรอมนีย์ กล่าวว่า เขาต้องการลดรายจ่ายของรัฐบาลกลางลงสู่ระดับ 20 %ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในเวลา 4 ปี โดยลดลงจากระดับปัจจุบันที่ 24 % ของจีดีพี
ทั้งปธน.โอบามาและนายรอมนีย์ ต้องการจะลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่นายรอมนีย์ ต้องการลดอัตราภาษีนี้ลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าของปธน.โอบามา


กฎระเบียบ

       คาดกันว่า ปธน.โอบามาจะดำเนินการตามแนวทางเดิมต่อไปในการเปิดโอกาสให้ผู้ควบคุมกฎระเบียบ นำข้อกำหนดต่างๆในกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินด็อดด์-แฟรงค์มาบังคับใช้ แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า นางแมรี ชาปิโร ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของสหรัฐ จะยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่ แต่ปธน.โอบามามีแนวโน้มที่จะแต่งตั้งประธานก.ล.ต.คนใหม่ที่จะไม่ยกเลิกมาตรการคุ้มครองนักลงทุนเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับภาคเอกชนและบริษัทการเงิน

ด้านนายรอมนีย์ ให้สัญญาว่า จะยกเลิกกฎหมายด็อดด์-แฟรงค์ทั้งฉบับ แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาในระหว่างการหาเสียงที่ไม่สามารถทำได้จริง เพราะการยกเลิกกฎหมายด็อดด์-แฟรงค์ทั้งฉบับจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักการเมือง และพรรคเดโมแครต ก็มีแนวโน้มที่จะยังคงครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาได้ต่อไปหลังการเลือกตั้งในวันนี้
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า นายรอมนีย์ จะทำงานร่วมกับสภาคองเกรสในการร่างกฎหมาย ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อแก้ไขสิ่งที่พรรครีพับลิกันมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ โดยปัญหาเหล่านี้ประกอบด้วย กฎโวล์คเกอร์ที่ห้ามสถาบันการเงินขนาดใหญ่จากการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของทางสถาบันเอง, ผลกระทบที่บริษัทผู้ใช้ปลายทางได้รับจากมาตรการปฏิรูปตราสารอนุพันธ์ และการที่บริษัทการเงินบางแห่งยังคงมีสถานะที่ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มละลายได้
นอกจากนี้ นายรอมนีย์ยังมีแนวโน้มที่จะจำกัดอำนาจของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินด้วย โดยสำนักงาน ดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายด็อดด์-แฟรงค์






1 ความคิดเห็น: